วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการปรับแต่งระบบปฏิบัติการ

[TIP & TRICK] วิธีการบู๊ตเครื่องให้เร็วทันใจ


การอัพเกรดไบออส

ไบออสคือโปรแกรมเล็กๆ ที่ความสามารถไม่เล็กตามโปรแกรม ที่อยู่บนเมนบอร์ด โดยจะทำหน้าที่ในการควบคุมการส่งข้อมูล ระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ดังนั้น การรู้จักอุปกรณ์ต่างๆ การอัพเกรดไบออสของคอมพิวเตอร์ให้ได้โปรแกรมที่ใหม่ที่สุด จึงเป็นสิ่งที่ จะทำให้การทำงานของเมนบอร์ดดีขึ้น และบางครั้งอาจทำให้บูตเร็วขึ้นอีกด้วย  
 ขั้นตอนการอัพเกรดไบออสนั้นให้ดูที่คู่มือเมนบอร์ดว่าใช้เมนบอร์ดยี่ห้ออะไร รุ่นไหน แล้วเข้าไปที่เว็บไซต์ ก็ไปที่ส่วนดาวน์ โหลด โดยจะต้องดาวน์โหลดทั้งไฟล์ที่ใช้ในการแฟลชไบออส และไฟล์โปรแกรมของไบออส เมื่อดาวน์โหลดมาแล้วให้แตก ไฟล์ออกมา โดยจะเอาไว้เก็บที่ดีที่สุดคือที่รูทของ C: จากนั้นให้บูตจากแผ่นดิสก์แล้วกด Shift + F5 ตอนบูตเพื่อที่จะได้บูตแบบไม่ ได้โหลดอะไรมาเลย แล้วที่ดอสพร็อมพ์ ให้พิมพ์ C: แล้วกด Enter เพื่อเข้าไดรฟ์ C: แล้วพิมพ์ execute.exe bios.img โดย execute.exe จะแทนชื่อโปรแกรมที่ใช้ในการแฟลช ให้พิมพ์ให้ตรงกับชื่อโปรแกรม bios.img จะแทนตัวไฟล์ของโปรแกรม โดย พิมพ์ให้ตรงกับชื่อ จากนั้นกดคีย์ Enter อาจจะมีการถามว่าต้องการแฟลชจริงหรือไม่? ก็ให้ตอบ Yes ไป ก็จะเริ่มเข้าสู่กระบวน การแฟลช ใช้เวลาระยะหนึ่งก็เสร็จ ช่วงนี้เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดเพราะถ้ามีการผิพลาด เช่น ไฟฟ้าดับ ก็อาจทำให้เมนบอร์ดเสียไป ได้ ดังนั้น ถ้ามี UPS ก็คงจะดี เมื่อแฟลชเสร็จแล้วก็ให้รีบูตใหม่ ถ้าบูตเข้าก็แสดงว่าแฟลชเรียบร้อยแล้ว ให้ดูเวอร์ชันและวันที่ของ ไบออสที่ได้แฟลชเข้าไปใหม่ จะเห็นว่ามีการเปลี่ยนไป  

ปรับแต่งไบออส
             
             อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่า ไบออสเป็นโปรแกรมพื้นฐานที่สุดที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ การเข้าไป ปรับแก้เกี่ยวกับไบออสก็จะทำให้การทำงานได้ประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้บูตเร็วขึ้นได้ ขั้นตอนการเข้าไปแก้ไขไบออส ให้ กดคีย์ Delete หลังจากเปิดเครื่อง ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้คีย์ Delete อยู่แล้ว ถ้าไม่ใช่ก็ลองมองดูที่หน้าจอตอนบูตว่าต้องกดคีย์อะไร เพื่อเข้าไปแก้ไขไบออส หลังจากเข้าไปสู่หน้าไบออสเซตอัพแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นตัวหนังสือล้วนๆ ให้เข้าไปหาสิ่งต่อไปนี้
- Turbo Frequency ให้เลือก ENABLE คำสั่งนี้ไม่ได้มีทุกเมนบอร์ด แต่ถ้ามีก็ให้ เอนเนเบิลไว้ จะทำให้ความเร็วบัสเร็วขึ้นประมาณ 2.5% ซึ่งจะทำให้ความเร็วโดย รวมของระบบเร็วขึ้น (เป็นการโอเวอร์คล็อกแบบไม่มากนัก) 
 - IDE Hard Disk Detection สั่งให้ตรวจสอบฮาร์ดดิสก์และซีดีรอม จากนั้นก็บันทึกลงไบออส จะทำให้ความเร็วในการบูตเร็วขึ้น ชัดเจนเมื่อเทียบกับที่การตั้งเป็น Auto แล้วต้องตรวจสอบทุกครั้งที่บูต
- Standard BIOS Setup Menu เข้าไปเช็คดูอีกครั้งว่าฮาร์ดดิสก์และซีดีรอมไม่ได้อยู่ในภาวะที่เป็น Auto
- Quick Power On Self Test (POST) ให้ ENABLE ไว้จะทำให้บูตเร็วขึ้น  
- Boot Sequence ให้เลือกเป็น C นำหน้า ถ้าไม่ต้องการบูตจากแผ่นดิสก์ จะทำให้ ไม่ต้องเสียเวลาไปเริ่มบูตจากแผ่นดิสก์ก่อน 
- Boot Up Floppy Seek ให้ DISABLE ไว้จะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการไปค้นหาแผ่นตอนเริ่มบูต






วิธีการปรับแต่ง Windows XP ให้ทำงานได้เร็วขึ้น แบบไม่ต้องลงทุน


หลังจากที่ได้แนะนำ วิธีการปรับแต่ง Windows 98 กันไปแล้ว คราวนี้ก็มาถึงคิวของการปรับแต่ง Windows XP กันบ้าง ความจริงแล้ว ระบบปฏิบัติการ Windows XP นั้น มีการจัดการกับส่วนต่าง ๆ ที่ค่อนข้างจะดีอยู่แล้วไม่จำเป็น จะต้องไปปรับแต่ง อะไรเพิ่มเติมกันอีก แต่ถ้าหาก ใครอยากจะเสริมโน่นนิด นี่หน่อย ก็ลองมาดูขั้นตอนการปรับแต่ง Windows XP

ทำการลง Driver ของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีมาให้สำหรับ Windows XP โดยเฉพาะ สำหรับท่านที่ใช้งาน Windows XP นั้น ความจริงหลังจากที่ลง Windowsใหม่ ๆ แล้ว อุปกรณ์บางตัวอาจจะสามารถ ทำงานได้เลย โดยไม่ต้องมานั่งลง Driver ให้ยุ่งยาก
แต่เพื่อให้อุปกรณ์ต่าง ๆ กัน นั้น สามารถทำงานได้ อย่างเต็มประสิทธิภาพ มากขึ้น ขอแนะนำให้ทำการลง Driver ของอุปกรณ์แต่ละตัวไปอีกด้วย จะช่วยลดปัญหาต่าง ๆ
ในการใช้งานได้มาก
การปรับแต่ง Performance ของระบบให้ทำงานได้เร็วขึ้น
เป็นการตั้งค่า Virtual Memory ของระบบที่เหมาะสม โดยเริ่มจากการคลิกเมาส์ขวาที่ My Computer บนหน้า Desktop เลือก Properties และเลือก Advanced ในช่อง Performance กดที่ปุ่ม Settings >> Advanced และด้านล่างเลือกกดปุ่ม Change จะได้ภาพ
       ทำการเปลี่ยนค่าของ Virtual ให้เป็นแบบ Custom size และกำหนดไว้ที่ 512 - 512 ตามภาพแล้วกด OK จากนั้นเครื่องจะทำการ Restart ใหม่ครั้งหนึ่งก่อน
การปรับแต่ง Startup and Recovery ของระบบวินโดวส์
เป็นการกำหนดขั้นตอน เมื่อระบบวินโดวส์เริ่มต้นทำงาน และการกำหนดการกระทำ เมื่อมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นให้เหมาะสม โดยทำการคลิกเมาส์ขวาที่ My Computer
บนหน้า Desktop เลือก Properties และเลือก Advanced ในช่อง Startup and Recovery กดที่ปุ่ม Settings จะได้ตามภาพ

            ทำการยกเลิกการเครื่องหมายถูกใต้ช่อง System failure ออกให้หมด (สำหรับเครื่องหมายถูกด้านบนใต้ช่อง system startup ให้ปล่อยไว้ตามเดิม เนื่องจากเป็นการกำหนดการเลือกบูต Windows แบบหลายระบบ หรือถ้าหากเครื่องนั้น ลงระบบ Windows ไว้แค่ตัวเดียว ไม่ได้ใช้ลูกเล่นนี้ก็เอาออกไปได้เช่นกันครับ) จากนั้นก็กด OK
การปรับแต่งระบบรายงานข้อผิดพลาดหรือ Error Reporting
เป็นการกำหนดวิธีการรายงานข้อผิดพลาด ซึ่งไม่ค่อยได้ใช้งานอะไรก็จัดการยกเลิกการทำงานส่วนนี้ซะเลย โดยทำการ คลิกเมาส์ขวาที่ My Computer บนหน้า Desktop เลือก
Properties และเลือก Advanced ที่ด้านล่าง ให้กดที่ปุ่ม Error Reporting จะได้ตามภาพ

         ทำการเลือกที่ช่อง Disable error repoeting ตามภาพแล้วกด OK
ปิดการทำงานของ System Restore เพื่อไม่ให้เปลืองพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์
เป็นการปิดการทำงานของระบบ System Restore หรือระบบย้อนเวลากลับของ Windows เช่น ถ้าหากเรามีการติดตั้ง ซอฟต์แวร์ลงไปในเครื่อง แล้วเกิดเปลี่ยนใจหรือว่า
ซอฟต์แวร์ตัวนั้น ไปสร้างปัญหาให้กับระบบ เราก็สามารถย้อนเวลากลับไป ณ วันที่หรือเวลาที่เราต้องการได้ แต่เนื่องจากการที่จะสามารถย้อนเวลากลับไปได้นั้น Windows
จะต้องใช้พื้นที่บน ฮาร์ดดิสก์ ส่วนหนึ่ง ในการเก็บข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ไว้ด้วยตรงนี้แหละครับที่เรียกว่า System Restore ซึ่งถ้าหาก ไม่ต้องการ ใช้งานระบบในส่วนนี้
ก็จัดการปิดการทำงานไปซะดีกว่าครับ โดยทำการ คลิกเมาส์ขวาที่ My Computer บนหน้า Desktop เลือก Properties และเลือก System Restore ตามภาพ

         ติ๊กเครื่องหมายถูกที่ช่อง Turn off System Restore on all drive แล้วกด OK

การตั้งให้ปิดระบบการทำงานของ Auto Update ไปเลยดีกว่า
เป็นการตั้งให้ระบบการอัพเดตไฟล์หรือ Patch ต่าง ๆ ผ่านทางเว็บไซต์ของ Microsoft แบบอัตโนมัติไม่ทำงาน เนื่องจาก ถ้าหากมีการตั้ง Auto Update นี้ไว้
จะทำให้เมื่อเล่นอินเตอร์เน็ตแล้ว จะมีการเช็คหรือตรวจสอบอยู่บ่อย ๆ รวมถึงในบางครั้ง อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ Windows ต่อเน็ตเองด้วย ซึ่งหากเราต้องการที่จะทำการอัพเดตจริง ก็สามารถสั่งเองได้เช่นกัน โดยทำการ คลิกเมาส์ขวาที่ My Computer บนหน้า Desktop เลือก Properties และเลือก Automatic Updates ตามภาพ


              เอาเครื่องหมายถูกหน้าช่อง Keep my computer up to date... ออกไปและกด OK
การปิดการทำงานของระบบ Remote Desktop
เป็นการปิดการทำงานของการใช้งาน Remote Desktop หรือการทำ Remote จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปยังอีกเครื่องหนึ่ง โดยปกติเราจะไม่ได้มีการใช้งานส่วนนี้
อยู่แล้ว ปิดไปเลยดีกว่าครับ โดยทำการ คลิกเมาส์ขวาที่ My Computer บนหน้า Desktop เลือก Properties และเลือก Remote ตามภาพ

                เอาเครื่องหมายถูกออกไปให้หมดเหมือนภาพด้านบน และกดปุ่ม OK
 
            สำหรับขั้นตอนต่าง ๆ เท่าที่พอจะทำการปรับแต่งได้ ดดยที่ไม่มีผลกระทบกับระบบ Windows XP มากนักก็มีเพียงเท่านี้ หลังจาก เสร็จสิ้น การปรับแต่งทุกอย่างแล้ว 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น