วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

คีย์ลัดของ Windows และ Office

แป้นพิมพ์ลัด (ShortCut) ใน Windows XP
        
         เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน Windows ง่ายๆ ด้วยการจดจำ และเรียนรู้การใช้งาน Keyboard ผสมผสานกับการใช้งานเม้าส์ รับรองคุณจะทำงานได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น


  • BACKSPACE (ดูโฟลเดอร์ย้อนขึ้นหนึ่งระดับใน My Computer หรือ Windows Explorer)
  • ESC (ยกเลิกงานปัจจุบัน)
  • CTRL+C (คัดลอก)
  • CTRL+X (ตัด)
  • CTRL+V (วาง)
  • CTRL+Z (ยกเลิก)
  • DELETE (ลบ)
  • SHIFT+DELETE (ลบรายการที่เลือกอย่างถาวรโดยไม่เก็บไว้ใน Recycle Bin)
  • กดปุ่ม CTRL ขณะที่ลากรายการ (คัดลอกรายการที่เลือก)
  • กดปุ่ม CTRL+SHIFT ขณะที่ลากรายการ (สร้างทางลัดไปยังรายการที่เลือก)
  • ปุ่ม F2 (เปลี่ยนชื่อรายการที่เลือก)
  • CTRL+ ลูกศรขวา (ย้ายเคอร์เซอร์ไปยังจุดเริ่มต้นของคำถัดไป)
  • CTRL+ ลูกศรซ้าย (ย้ายเคอร์เซอร์ไปยังจุดเริ่มต้นของคำก่อนหน้า)
  • CTRL+ ลูกศรลง (ย้ายเคอร์เซอร์ไปยังจุดเริ่มต้นของย่อหน้าถัดไป)
  • CTRL+ ลูกศรขึ้น (ย้ายเคอร์เซอร์ไปยังจุดเริ่มต้นของย่อหน้าก่อนหน้าไป)
  • CTRL+SHIFT พร้อมกับปุ่มลูกศรใดๆ (ไฮไลต์บล็อกข้อความ)
  • CTRL+A (เลือกทั้งหมด)
  • ปุ่ม F3 (ค้นหาไฟล์หรือโฟลเดอร์)
  • ALT+ENTER (ดูคุณสมบัติต่างๆ ของรายการที่เลือก)
  • ALT+F4 (ปิดรายการที่ใช้งานอยู่ หรือปิดโปรแกรมที่ใช้งาน)
  • ALT+ENTER (แสดงคุณสมบัติของออบเจกต์ที่เลือก)
  • ALT+SPACEBAR (เปิดเมนูทางลัดสำหรับหน้าต่างที่ทำงานอยู่)
  • CTRL+F4 (ปิดเอกสารที่ใช้งานอยู่)
  • ALT+TAB (สลับระหว่างรายการต่างๆ ที่เปิดอยู่)
  • ALT+ESC (สลับไปยังรายการต่างๆ ตามลำดับที่เปิด)
  • ปุ่ม F6 (สลับไปตามรายการอิลิเมนต์บนหน้าจอในหน้าต่างหรือบนเดสก์ทอป)
  • ปุ่ม F4 (แสดงรายการแอดเดรสบาร์ใน My Computer หรือ Windows Explorer)
  • SHIFT+F10 (แสดงเมนูทางลัดสำหรับรายการที่เลือก)
  • ALT+SPACEBAR (เปิดเมนูระบบสำหรับหน้าต่างที่ทำงานอยู่)
  • CTRL+ESC (แสดงเมนู Start)
  • ALT+อักษรขีดเส้นใต้ในชื่อเมนู (แสดงเมนูนั้นๆ)
  • อักษรที่ขีดเส้นใต้ในชื่อคำสั่งบนเมนูที่เปิด (ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ)
  • ปุ่ม F10 (เปิดแถบเมนูในโปรแกรมที่กำลังใช้งาน)
  • ลูกศรขวา (เปิดเมนูถัดไปทางขวา หรือเปิดเมนูย่อย)
  • ลูกศรซ้าย (เปิดเมนูถัดไปทางซ้าย หรือปิดเมนูย่อย)
  • ปุ่ม F5 (อัปเดทหน้าต่าง)
  • กดปุ่ม SHIFT ขณะที่ใส่แผ่นซีดีรอมลงในไดรฟ์ซีดีรอม (ยกเลิกการเล่นซีดีรอมอัตโนมัติ)
  • CTRL+SHIFT+ESC (เปิด Task Manager)
        ที่มา : http://www.modify.in.th/Computer-Tip/ShortCut-Windows-XP-id47.aspx


คีย์ลัดของ Office


CTRL + A = Select All เลือกทั้งหมด
CTRL + B = Bold ตัวหนา
CTRL + C = Copy คัดลอก
CTRL + D = Font format กำหนดรูปแบบอักษร
CTRL + E = Center ตรงกลาง
CTRL + F = Find ค้นหา
CTRL + G = Goto ไปที่
CTRL + H = Replace แทนที่
CTRL + I = Italic ตัวเอียง
CTRL + J = Justify จัดชิดขอบ
CTRL + K = Insert Hyper Link แทรกการเชื่อมโยงหลายมิติ
CTRL + L = Left จัดชิดซ้าย
CTRL + M = Indent เพิ่มระยะเยื้อง
CTRL + N = New สร้างแฟ้มใหม่
CTRL + O = Open เปิดแฟ้มใหม่
CTRL + P = Print พิมพ์
CTRL + Q = Reset Paragraph ตั้งค่าย่อหน้าใหม่
CTRL + R = Right จัดชิดขวา
CTRL + S = Save จัดเก็บ (บันทึก)
CTRL + T = Tab (ตั้งระยะแท็บ)
CTRL + U = Underline ขีดเส้นใต้
CTRL + V = Paste วาง
CTRL + W = Close ปิดแฟ้ม
CTRL + X = Cut ตัด
CTRL + Y = Redo or Repeat ทำซ้ำ
CTRL + Z = Undo ยกเลิกการกระทำครั้งล่าสุด

CTRL + SHIFT + A = All Caps ทำเป็นตัวใหญ่ทั้งหมด (สำหรับภาษาอังกฤษ)
CTRL + SHIFT + B = Bold ตัวหนา
CTRL + SHIFT + C = Copy Format คัดลอกรูปแบบ
CTRL + SHIFT + D = Double Underline ขีดเส้นใต้ 2 เส้น
CTRL + SHIFT + E = Revision Mark Toggle สลับการทำเครื่องหมายรุ่นเอกสาร
CTRL + SHIFT + F = Fonts Name Select เลือกชื่อแบบอักษร
CTRL + SHIFT + G = Word count นับจำนวนคำ
CTRL + SHIFT + H = Hidden ซ่อน
CTRL + SHIFT + I = Italic ตัวเอียง
CTRL + SHIFT + J = Thai Justify จัดคำแบบไทย
CTRL + SHIFT + K = Small Caps ทำอักษรตัวพิมพ์เล็กให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่แบบเล็กๆ
CTRL + SHIFT + L = Apply List Bullet ใช้เครื่องหมายหน้าข้อ
CTRL + SHIFT + M = Unindent ลดระยะเยื้อง
CTRL + SHIFT + N = Normal Style ใช้ลักษณะแบบปกติ
CTRL + SHIFT + P = Font Size Select เลือกขนาดแบบอักษร
CTRL + SHIFT + Q = Symbol Font ใช้แบบอักษรสัญลักษณ์
CTRL + SHIFT + R = Recount Words นับคำใหม่
CTRL + SHIFT + S = Style กำหนดลักษณะ
CTRL + SHIFT + T = Unhang ไม่แขวนภาพ
CTRL + SHIFT + U = Underline ขีดเส้นใต้
CTRL + SHIFT + V = Paste Format วางรูปแบบ
CTRL + SHIFT + W = Word Underline ขีดเส้นใต้เฉพาะคำ
CTRL + SHIFT + Z = Reset Character ตั้งค่าแบบอักษรใหม่

CTRL + ALT + C = Copyright sign ((c)) สัญลักษณ์ลิขสิทธิ์
CTRL + ALT + E = Euro Sign (?) สัญลักษณ์เงินยูโร
CTRL + ALT + F = Insert Footnote Now แทรกหมายเหตุ
CTRL + ALT + I = Print Preview ตัวอย่างก่อนพิมพ์
CTRL + ALT + K = Auto Format จัดรูปแบบอัตโนมัติ
CTRL + ALT + L = Insert List Number แทรกเลขลำดับหน้าข้อ
CTRL + ALT + M = Insert Annotation แทรกคำอธิบาย
CTRL + ALT + N = Normal View มุมมองปกติ
CTRL + ALT + O = Outline View มุมมองแบบร่าง
CTRL + ALT + P = Page View มุมมองเหมือนพิมพ์
CTRL + ALT + R = Registered sign สัญลักษณ์เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน
CTRL + ALT + S = Document Split แยกเอกสาร
CTRL + ALT + T = Trade Mark sign (?) สัญลักษณ์เครื่องหมายการค้า CTRL + ALT + U = Update Auto Format for Table ปรับปรุงการจัดรูปแบบอัตโนมัติในตาราง
CTRL + ALT + V = Insert Auto Text แทรกข้อความอัตโนมัติ
CTRL + ALT + Y = Repeat find ค้นหาเพิ่มเติม
CTRL + ALT + Z = Go back ย้อนกลับ

CTRL + < = Decrease Font size by step เพิ่มขนาดตัวอักษรทีละขนาดที่กำหนด
CTRL + > = Increase Font size by step ลดขนาดตัวอักษรทีละขนาดที่กำหนด
CTRL + [ = Decrease Font size by point เพิ่มขนาดตัวอักษรทีละพอยน์ CTRL + ] = Increase Font size by point ลดขนาดตัวอักษรทีละพอยน์
CTRL + - = Optional Hyphen แทรกยัติภังค์
CTRL + _ = Non Breaking Hyphen แทรกยัติภังค์แบบไม่แบ่งคำ
CTRL + = = Sub Script ตัวห้อย
CTRL + + = Super Script ตัวยก
CTRL + \ = Toggle Master sub document สลับไปมาระหว่างเอกสารหลักและเอกสารย่อย
CTRL + , = Prefix Keys กำหนดแป้นพิมพ์

กดปุ่ม F12 จะเป็นการ Save As..(บันทึกเป็น)
กดปุ่ม F7 จะเป็นการสะกดและไวยากรณ์
กดปุ่ม F5 จะเป็นการแทนที่ (การค้นหาและแทนที่)
กดปุ่ม F4 จะเป็นการใช้คำสั่งล้าสุดในการทำงาน เช่น ถ้าคำสั่งสุดท้ายเรากำลังลบงาน ถ้ากดปุ่ม F4 ก็จะลบงาน  แต่ถ้าเรากดปุ่ม Enter คำสั่งสุดท้าย ถ้ากดปุ่ม F4 ก็จะทำการเพิ่มบรรทัดขึ้นมา

        ที่มา : http://www.krudung.com/pb/index

เทคนิคการปรับแต่งระบบปฏิบัติการ

[TIP & TRICK] วิธีการบู๊ตเครื่องให้เร็วทันใจ


การอัพเกรดไบออส

ไบออสคือโปรแกรมเล็กๆ ที่ความสามารถไม่เล็กตามโปรแกรม ที่อยู่บนเมนบอร์ด โดยจะทำหน้าที่ในการควบคุมการส่งข้อมูล ระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ดังนั้น การรู้จักอุปกรณ์ต่างๆ การอัพเกรดไบออสของคอมพิวเตอร์ให้ได้โปรแกรมที่ใหม่ที่สุด จึงเป็นสิ่งที่ จะทำให้การทำงานของเมนบอร์ดดีขึ้น และบางครั้งอาจทำให้บูตเร็วขึ้นอีกด้วย  
 ขั้นตอนการอัพเกรดไบออสนั้นให้ดูที่คู่มือเมนบอร์ดว่าใช้เมนบอร์ดยี่ห้ออะไร รุ่นไหน แล้วเข้าไปที่เว็บไซต์ ก็ไปที่ส่วนดาวน์ โหลด โดยจะต้องดาวน์โหลดทั้งไฟล์ที่ใช้ในการแฟลชไบออส และไฟล์โปรแกรมของไบออส เมื่อดาวน์โหลดมาแล้วให้แตก ไฟล์ออกมา โดยจะเอาไว้เก็บที่ดีที่สุดคือที่รูทของ C: จากนั้นให้บูตจากแผ่นดิสก์แล้วกด Shift + F5 ตอนบูตเพื่อที่จะได้บูตแบบไม่ ได้โหลดอะไรมาเลย แล้วที่ดอสพร็อมพ์ ให้พิมพ์ C: แล้วกด Enter เพื่อเข้าไดรฟ์ C: แล้วพิมพ์ execute.exe bios.img โดย execute.exe จะแทนชื่อโปรแกรมที่ใช้ในการแฟลช ให้พิมพ์ให้ตรงกับชื่อโปรแกรม bios.img จะแทนตัวไฟล์ของโปรแกรม โดย พิมพ์ให้ตรงกับชื่อ จากนั้นกดคีย์ Enter อาจจะมีการถามว่าต้องการแฟลชจริงหรือไม่? ก็ให้ตอบ Yes ไป ก็จะเริ่มเข้าสู่กระบวน การแฟลช ใช้เวลาระยะหนึ่งก็เสร็จ ช่วงนี้เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดเพราะถ้ามีการผิพลาด เช่น ไฟฟ้าดับ ก็อาจทำให้เมนบอร์ดเสียไป ได้ ดังนั้น ถ้ามี UPS ก็คงจะดี เมื่อแฟลชเสร็จแล้วก็ให้รีบูตใหม่ ถ้าบูตเข้าก็แสดงว่าแฟลชเรียบร้อยแล้ว ให้ดูเวอร์ชันและวันที่ของ ไบออสที่ได้แฟลชเข้าไปใหม่ จะเห็นว่ามีการเปลี่ยนไป  

ปรับแต่งไบออส
             
             อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่า ไบออสเป็นโปรแกรมพื้นฐานที่สุดที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ การเข้าไป ปรับแก้เกี่ยวกับไบออสก็จะทำให้การทำงานได้ประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้บูตเร็วขึ้นได้ ขั้นตอนการเข้าไปแก้ไขไบออส ให้ กดคีย์ Delete หลังจากเปิดเครื่อง ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้คีย์ Delete อยู่แล้ว ถ้าไม่ใช่ก็ลองมองดูที่หน้าจอตอนบูตว่าต้องกดคีย์อะไร เพื่อเข้าไปแก้ไขไบออส หลังจากเข้าไปสู่หน้าไบออสเซตอัพแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นตัวหนังสือล้วนๆ ให้เข้าไปหาสิ่งต่อไปนี้
- Turbo Frequency ให้เลือก ENABLE คำสั่งนี้ไม่ได้มีทุกเมนบอร์ด แต่ถ้ามีก็ให้ เอนเนเบิลไว้ จะทำให้ความเร็วบัสเร็วขึ้นประมาณ 2.5% ซึ่งจะทำให้ความเร็วโดย รวมของระบบเร็วขึ้น (เป็นการโอเวอร์คล็อกแบบไม่มากนัก) 
 - IDE Hard Disk Detection สั่งให้ตรวจสอบฮาร์ดดิสก์และซีดีรอม จากนั้นก็บันทึกลงไบออส จะทำให้ความเร็วในการบูตเร็วขึ้น ชัดเจนเมื่อเทียบกับที่การตั้งเป็น Auto แล้วต้องตรวจสอบทุกครั้งที่บูต
- Standard BIOS Setup Menu เข้าไปเช็คดูอีกครั้งว่าฮาร์ดดิสก์และซีดีรอมไม่ได้อยู่ในภาวะที่เป็น Auto
- Quick Power On Self Test (POST) ให้ ENABLE ไว้จะทำให้บูตเร็วขึ้น  
- Boot Sequence ให้เลือกเป็น C นำหน้า ถ้าไม่ต้องการบูตจากแผ่นดิสก์ จะทำให้ ไม่ต้องเสียเวลาไปเริ่มบูตจากแผ่นดิสก์ก่อน 
- Boot Up Floppy Seek ให้ DISABLE ไว้จะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการไปค้นหาแผ่นตอนเริ่มบูต






วิธีการปรับแต่ง Windows XP ให้ทำงานได้เร็วขึ้น แบบไม่ต้องลงทุน


หลังจากที่ได้แนะนำ วิธีการปรับแต่ง Windows 98 กันไปแล้ว คราวนี้ก็มาถึงคิวของการปรับแต่ง Windows XP กันบ้าง ความจริงแล้ว ระบบปฏิบัติการ Windows XP นั้น มีการจัดการกับส่วนต่าง ๆ ที่ค่อนข้างจะดีอยู่แล้วไม่จำเป็น จะต้องไปปรับแต่ง อะไรเพิ่มเติมกันอีก แต่ถ้าหาก ใครอยากจะเสริมโน่นนิด นี่หน่อย ก็ลองมาดูขั้นตอนการปรับแต่ง Windows XP

ทำการลง Driver ของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีมาให้สำหรับ Windows XP โดยเฉพาะ สำหรับท่านที่ใช้งาน Windows XP นั้น ความจริงหลังจากที่ลง Windowsใหม่ ๆ แล้ว อุปกรณ์บางตัวอาจจะสามารถ ทำงานได้เลย โดยไม่ต้องมานั่งลง Driver ให้ยุ่งยาก
แต่เพื่อให้อุปกรณ์ต่าง ๆ กัน นั้น สามารถทำงานได้ อย่างเต็มประสิทธิภาพ มากขึ้น ขอแนะนำให้ทำการลง Driver ของอุปกรณ์แต่ละตัวไปอีกด้วย จะช่วยลดปัญหาต่าง ๆ
ในการใช้งานได้มาก
การปรับแต่ง Performance ของระบบให้ทำงานได้เร็วขึ้น
เป็นการตั้งค่า Virtual Memory ของระบบที่เหมาะสม โดยเริ่มจากการคลิกเมาส์ขวาที่ My Computer บนหน้า Desktop เลือก Properties และเลือก Advanced ในช่อง Performance กดที่ปุ่ม Settings >> Advanced และด้านล่างเลือกกดปุ่ม Change จะได้ภาพ
       ทำการเปลี่ยนค่าของ Virtual ให้เป็นแบบ Custom size และกำหนดไว้ที่ 512 - 512 ตามภาพแล้วกด OK จากนั้นเครื่องจะทำการ Restart ใหม่ครั้งหนึ่งก่อน
การปรับแต่ง Startup and Recovery ของระบบวินโดวส์
เป็นการกำหนดขั้นตอน เมื่อระบบวินโดวส์เริ่มต้นทำงาน และการกำหนดการกระทำ เมื่อมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นให้เหมาะสม โดยทำการคลิกเมาส์ขวาที่ My Computer
บนหน้า Desktop เลือก Properties และเลือก Advanced ในช่อง Startup and Recovery กดที่ปุ่ม Settings จะได้ตามภาพ

            ทำการยกเลิกการเครื่องหมายถูกใต้ช่อง System failure ออกให้หมด (สำหรับเครื่องหมายถูกด้านบนใต้ช่อง system startup ให้ปล่อยไว้ตามเดิม เนื่องจากเป็นการกำหนดการเลือกบูต Windows แบบหลายระบบ หรือถ้าหากเครื่องนั้น ลงระบบ Windows ไว้แค่ตัวเดียว ไม่ได้ใช้ลูกเล่นนี้ก็เอาออกไปได้เช่นกันครับ) จากนั้นก็กด OK
การปรับแต่งระบบรายงานข้อผิดพลาดหรือ Error Reporting
เป็นการกำหนดวิธีการรายงานข้อผิดพลาด ซึ่งไม่ค่อยได้ใช้งานอะไรก็จัดการยกเลิกการทำงานส่วนนี้ซะเลย โดยทำการ คลิกเมาส์ขวาที่ My Computer บนหน้า Desktop เลือก
Properties และเลือก Advanced ที่ด้านล่าง ให้กดที่ปุ่ม Error Reporting จะได้ตามภาพ

         ทำการเลือกที่ช่อง Disable error repoeting ตามภาพแล้วกด OK
ปิดการทำงานของ System Restore เพื่อไม่ให้เปลืองพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์
เป็นการปิดการทำงานของระบบ System Restore หรือระบบย้อนเวลากลับของ Windows เช่น ถ้าหากเรามีการติดตั้ง ซอฟต์แวร์ลงไปในเครื่อง แล้วเกิดเปลี่ยนใจหรือว่า
ซอฟต์แวร์ตัวนั้น ไปสร้างปัญหาให้กับระบบ เราก็สามารถย้อนเวลากลับไป ณ วันที่หรือเวลาที่เราต้องการได้ แต่เนื่องจากการที่จะสามารถย้อนเวลากลับไปได้นั้น Windows
จะต้องใช้พื้นที่บน ฮาร์ดดิสก์ ส่วนหนึ่ง ในการเก็บข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ไว้ด้วยตรงนี้แหละครับที่เรียกว่า System Restore ซึ่งถ้าหาก ไม่ต้องการ ใช้งานระบบในส่วนนี้
ก็จัดการปิดการทำงานไปซะดีกว่าครับ โดยทำการ คลิกเมาส์ขวาที่ My Computer บนหน้า Desktop เลือก Properties และเลือก System Restore ตามภาพ

         ติ๊กเครื่องหมายถูกที่ช่อง Turn off System Restore on all drive แล้วกด OK

การตั้งให้ปิดระบบการทำงานของ Auto Update ไปเลยดีกว่า
เป็นการตั้งให้ระบบการอัพเดตไฟล์หรือ Patch ต่าง ๆ ผ่านทางเว็บไซต์ของ Microsoft แบบอัตโนมัติไม่ทำงาน เนื่องจาก ถ้าหากมีการตั้ง Auto Update นี้ไว้
จะทำให้เมื่อเล่นอินเตอร์เน็ตแล้ว จะมีการเช็คหรือตรวจสอบอยู่บ่อย ๆ รวมถึงในบางครั้ง อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ Windows ต่อเน็ตเองด้วย ซึ่งหากเราต้องการที่จะทำการอัพเดตจริง ก็สามารถสั่งเองได้เช่นกัน โดยทำการ คลิกเมาส์ขวาที่ My Computer บนหน้า Desktop เลือก Properties และเลือก Automatic Updates ตามภาพ


              เอาเครื่องหมายถูกหน้าช่อง Keep my computer up to date... ออกไปและกด OK
การปิดการทำงานของระบบ Remote Desktop
เป็นการปิดการทำงานของการใช้งาน Remote Desktop หรือการทำ Remote จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปยังอีกเครื่องหนึ่ง โดยปกติเราจะไม่ได้มีการใช้งานส่วนนี้
อยู่แล้ว ปิดไปเลยดีกว่าครับ โดยทำการ คลิกเมาส์ขวาที่ My Computer บนหน้า Desktop เลือก Properties และเลือก Remote ตามภาพ

                เอาเครื่องหมายถูกออกไปให้หมดเหมือนภาพด้านบน และกดปุ่ม OK
 
            สำหรับขั้นตอนต่าง ๆ เท่าที่พอจะทำการปรับแต่งได้ ดดยที่ไม่มีผลกระทบกับระบบ Windows XP มากนักก็มีเพียงเท่านี้ หลังจาก เสร็จสิ้น การปรับแต่งทุกอย่างแล้ว 

วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ลำดับชั้นของหน่วยความจำ

ลำดับชั้นของหน่วยความจำ
และการเปรียบเทียบหน่วยความจำประเภทต่าง ๆ




                    ที่มา :  http://www-scm.tees.ac.uk/users/u0000408/MemIntro/memory.htm

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติและวิวัฒนาการของ CPU INTEL

ซีพียูแต่ละรุ่นของอินเทล



Intel 8086 / 8088 (1978-1979)
          ซีพียูรุ่น 8086 เป็นซีพียูของอินเทลที่ทำงานแบบ 16 บิตแบบสมบูรณ์ เพราะทั้งสถาปัตยกรรม ภายในและภายนอกเป็นแบบ 16 บิตอย่างแท้จริง ต่างจาก 8088 ที่สถาปัตยกรรมภายในเป็น ระบบประมวลผลแบบ 16 บิต แต่สถาปัตยกรรมภายนอกที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับดาต้าบัส เพื่อ รับส่งข้อมูลเป็นแบบ 8 บิต  
Intel 80286 (1982)
          ในปี ค.ศ. 1982 อินเทลก็ได้ผลิตซีพียูรุ่น 80286 ที่มีความเร็วเพียงแค่ 6 เมกิเฮิรตช์ ซึ่งบัสของ 80286 เป็นแบบ 16 บิต ภายในมีทรานซิลเตอร์บรรจุอยู่ประมาณ 130 , 000 ตัว จึงเป็นเหตุให้เกิด ความร้อนสูงในขณะทำงาน ดังนั้นจึงต้องมีการติดตั้งพัดลมและแผ่นระบายความร้อน ( Heat Sink )

Intel 80386SX/80386DX (1985-1990)
          ผลิตออกมาเมื่อปี ค.ศ. 1985 ด้วยความเร็ว 16 เมกะเฮิรตซ์ เป็นซีพียูที่มีขนาดของบัสข้อมูล 16 บิต แต่มีขีดความสามารถและความเร็วสูงกว่า 80826 มีทรานซิสเตอร์ภายใน 250 , 000 ตัว สถาปัตยกรรมภายในเป็นระบบประมวลผลแบบ 32 บิต แต่สถาปัตยกรรมภายนอกที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับดาต้าบัสเพื่อรับ ส่งข้อมูลจะเป็นแบบ 16 บิต โดย 80386 SX มีความเร็วตั้งแต่ 16 , 50 , 25 , และ 33 เมกะเฮิรตซ์
Intel 80486SX/ 80486 DX (1989-1994)
          ซีพียูรุ่น 80486 มีความเร็วตั้งแต่ 20 , 25 , และ 33 เมกะเฮิรตซ์ ทำงานแบบ 32 บิต และมีแคช ภายใน ( Intel Cache ) ทำสามารถทำงานได้เร็วกว่ารุ่น 80386 ที่จำนวนของสัญญาณนาฬิกา เท่ากัน โดยในรุ่น 80486 SX ยังไม่มี Math Coprocess รวมอยู่ในซีพียู ต่อมาทางอินเทลก็ได้ออกเครื่องรุ่น 80486 DX มีความเร็วตั้งแต่ 50 , 66 , 100 เมกะเฮิรตซ์ เป็นซีพียูที่มีขีดความสามารถสูงขึ้นทั้งด้านความเร็วในการคำนวณและเทคโนโลยีโดยการรวม เอา Math Coprocessor และ แคชมารวมอยู่ในชิปเดียวกันกับซีพียู
INTEL PENTIUM
อินเทลเพนเทียม Intel Pentium (1993-1998)
          ในช่วงแรกได้ผลิตออกมาที่ความเร็ว 60 และ66 เมกะเฮิรตซ์ อีกไม่นานนักอินเทลก็ได้ ผลิตความเร็วสูงขึ้นอีกเป็น 75 และ 90 เมกิเฮิรตซ์ ซึ่งมีสถาปัตยกรรมที่แตกต่างจากรุ่นแรกๆ และยังสามารถพัฒนาความเร็วไปได้อีกคือ 100 , 13 , 150 และ 166 เมกะเฮิรตซ์ เป็นซีพียูที่มีขีด ความสามารถสูงขั้นทั้งทางด้านความเร็วและเทคโนโลยี มีแคชภายในมากขึ้น และมี ความสามารถในการทำงานกับเลขทศนิยมได้ดีขึ้น และมีความสามารถในการทำงานกับเลข ทศนิยมได้ดีขึ้นโดยรุ่นแรกๆนั้นมีทรานซิสเตอร์ล้านกว่าตัว จึงทำให้มีความร้อนสูงมาก

PENTIUM II
         
          Pentium ll เป็นซีพียูที่ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีของ Pentium Pro ผนวกเข้ากับเทคโนโลยี MMX ที่ใช้สถาปัตยกรรมการทำงานแบบใหม่ที่เรียกว่า “Single InstructionMultiple Data (SIMD)” ซึ่งได้มีการปรับโครงสร้างสถาปัตยกรรมภายในซิปถึง 70 จุด เพื่อเร่งความเร็วในการ ทำงานแบบ 64 บิต และยังมีการเพิ่มชุดคำสั่งเข้าไปอีก 70 คำสั่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ ประมวลผลงานด้าน 3 มิติ

เพนเทียมทูคลาเมธ Pentium II Klamath
          
            คือชิปรุ่นต่อมาซึ่งถูกพัฒนาความสามารถให้สูงขึ้น Pentium II Klamath เป็นชิปตัวแรก ในตลาด ที่เปลี่ยนจากอินเอตร์เฟซแบบซ็อกเกตมาเป็นสล็อตแทน ซีพียูเพนเทียมทูคลาเมธ มี ความเร็วเริ่มตั้งแต่ 233-300 MHz . ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.35 ไมครอน มีสถาปัตยกรรม แบบ SECC (Single Eade Contact Cartridge) ซึ่งมีลักษณะเป็นการ์ดที่ใช้กับ Slot 1 มีแคช ระดับสองติดตั้งอยู่บนการ์ดซีพียู ทำงานที่ความเร็วบัส 66 MHz ใช้ไฟเลี้ยง 2.0 โวลด์

เพนเทียมทูเดสชู๊ตส์ ( Pentium II Deschutes )
         
   ซีพียูในรุ่นนี้เป็นการพัฒนาในส่วนของแกนซีพียูให้สามารถทำงานได้ที่ความเร็วสูงขึ้น โดย การลดขนาดการผลิตลงจาก 0.35 มาเป็น 0.25 ไมครอน และเนื่องจากการใช้เทคโนโลยีการ ผลิตที่เล็กลง ทำให้ลดการใช้ไฟเลี้ยงซีพียูน้อยลงอีกด้วย ซึ่งจะช่วยลดความร้อนบนแกนซีพียู
เนื่องจากชิปแคชระดับสองที่ใช้กับซีพียูคลาเมธนั้น ถูกออกแบบให้สามารถรองรับการทำงานที่ความเร็วประมาณ 300 MHz เท่านั้น แต่ในการผลิตซีพียูในรุ่นเดสชู๊ตนี้ สามารถรองรับความเร็วได้ถึง 450 MHz ทำให้แคชระดับสองจะต้องทำงานที่ความเร็วสูงถึง 225 MHz
CELERON
        
     ทางอินเทลได้นำเอาซีพียูเพนเทียมทูในรุ่นคลาเมธมาทำการตัดเอาส่วนของหน่วยความจำแคช ระดับสองออก เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงทำให้ซีพียูเซเลอรอนมีสถาปัตยกรรม ภายในแบบเดียวกับเพนเทียมทู เพียงแต่ซีพียูเซลเลอรอนจะไม่มีหน่วยความจำแคชระดับสอง เท่านั้น การที่ Celeron สนันสนุน MMX การโอนถ่ายข้อมูลมัลติมีเดียได้ด้วยความเร็วสูง แต่ ความสามารถของมันก็ไม่ได้เร็วอย่างที่คาดไว้ เพราะ แคชที่มีเพียง 32 K กับบัส ที่ความเร็ว 66 MHz ก็ไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก และให้ชื่อรหัสการพัฒนาในรุ่นนี้ว่าโควินตัน ( Covignton )

เซลเลอรอนโควินตัน( Covington )
           ซีพียูโควินตันจะมีด้วยกัน 2 รุ่นคือ รุ่นความเร็ว 266 และ 300 MHz ใช้เทคโนโลยีการ ผลิตขนาด 0.35 ไมครอน ส่วนของชิปจะถูกติดตั้งบนแผงวงจรขนาดเล็กที่เรียกว่า SECC ในเพ นเทียมทู แต่ในตระกูลเซลเลอรอนจะเรียกแผงวงจรดังกล่าวว่า SEPP (Single Edge Processor Packege) แทน ซึ่งจะใช้ติดตั้งบนเมนบอร์ดแบบ Slot 1 เช่นเดียวกัน และแผงวงจร SEPP ก็จะ ถูกบรรจุอยู่ในพลาสติกสีดำคล้ายตลับเกม
เซลเลอรอนเมนโดชิโน ( Mendocino )
         ซีพียูในรุ่นนี้จีสถาปัตยกรรมแบบเดียวกับเพนเทียมทูรุ่นรหัส Deschutes คือใช้ เทคโนโลยีการผลิตขนาด 02.5 ไมครอน ซึ่งเป็นเทคโนโบยีการผลิตซีพียูที่มีขนาดเล็กกว่าเซล เลอรอนโควินตันที่ใช้ 0.35 ไมครอน และที่สำคัญยังด้เพิ่มส่วนของหน่วยความจำแคชระดับ สองเข้าไปบนตัวชิปซีพียูอีก 128 KB โดยแคชจะทำงานที่ความเร็วเดียวกับซีพียู จะเป็นว่า หน่วยความจำแคชระดับสองของเมนโดชิโนจะมีขนาดเล็กกว่าเพนเทียมทูซึ่งมีขนาด 512 KB แต่แคชระดับสองเมนโดชิโนจะทำงานเร็วกว่า แคชของเพนเทียมทู ซึ่งมีความเร็วเพียง ครึ่งหนึ่งของซีพียูเท่านั้น โดยซีพียูในรุ่นนี้จะเริ่มที่ความเร็ว 300 -433 MHz และถูกติดตั้งบน แผงวงจรขนาดเล็กที่เรียกว่า SEPP
ซีพียูเซลเลอรอน PPGA Socket 370
          เพื่อเป็นการลดต้นทุนอินเทลจึงได้ออกแบบ PPGA ซึ่งมีต้นทุนที่ถูกกว่าแบบ Slot 1 สำหรับ ซีพียูเซลเลอรอนแบบ PPGA Socket 370 นี้ ยังคงมีสถาปัตยกรรมแบบเดียวกับเมนโดชิโนที่ใช้ เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.25 ไมครอน กับแคชระดับสองขนาด 128 KB ซึ่งทำงานที่ ความเร็วเดียวกับซีพียู มีความเร็วตั้งแต่ 300 – 533 MHz

PENTIUM III
เพนเทียมทรี Pentium III
          ซีพียูเพนเทียมทรีเป็นซีพียูที่ได้ทำการเพิ่มชุดคำสั่ง Streaming SIMD Extension :SSE เข้าไป 70 คำสั่ง ซึ่งมีหน้าที่เร่งความเร็วให้กับการประมวลผลข้อมูลที่เป็นภาพ 3 มิติ พร้อมกับการเปลี่ยน หน่วยความจำแคชระดับสองให้เร็วขึ้นคือ จาก5.5 ns มาเป็น 4 ns ซึ่งในรุ่นแรกนี้ใช้ชื่อรหัสว่า แคทไม Katmai และยังคงใช้เทคโนโลยีซีพียูแบบ Slot 1 เช่นเดียวกับเพนเทียมทู ต่อมาทางอินเทลได้ผลิตซีพียูเพนเทียมทรีออกมาใหม่คือ Coppermine ซึ่งมี รูปแบบซีพียูแบบ Slot 1 เช่นกัน

ซีพียูเพนเยมทรีแคทไม Pentium III Katmai
          เป็นซีพียูที่มีความเร็วเริ่มต้นที่ 450 MHz ไปจนถึง 620 MHz ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด0.25 ไมครอน มีทรานซิสเตอร์จำนวน 28 ล้านตัว ใช้สถาปัตยกรรมแบบ SECC 2 (Single Edge Contact Cartridge 2 )

ซีพียูเพนเทียมทรีคอปเปอร์ไมน์ Pentuim III Coppermine
         ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน มีทรานซิสเตอร์จำนวน 28 ล้านตัว ซีพียูมีแพ็คเกจแบบ SECC2 และลดขนาดของหน่วยความจำแคชระดับสองลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่งคือ 256 KB แต่เป็น หน่วยความจำแคชที่สร้างบนชิปซีพียูซึ่งทำงานที่ความเร็วเดียวกับซีพียู เท่ากับว่าแคชของซีพียูคอปเปอร์ไมน์ทำงานเร็วเป็น 2 เท่า ของซีพียูแคทไม โดยหน่วยความจำแคชระดับสองนี้จะใช้ เทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า Advanced Transfer Cache: ATC

Pentium 4
          เพนเทียมโฟร์ Pentium 4 เป็นรุ่นที่ค่อนข้างจะมีความเร็วผิดจากที่คาดไว้ และมี Cache น้อย อย่างไรก็ดี ชิปชุดนี้ก็ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมการ ออกแบบที่ใหม่ทั้งหมด ระบบไปป์ไลน์ 20 ขั้น ต่อมาได้ชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า Intel Pentium Processor ที่จะมาแทนที่ Pentium III จะออกสู่ตลาดด้วยความเร็วเริ่มต้นที่ 1.4 GHz 1.5 GHz ภายใต้สถาปัตยกรรมใหม่ล่าสุดที่ชื่อ Intel NetBurst micro - architecture นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มชุดคำสั่งใหม่ SSE 2 เข้าไปอีก 144 ชุดคำสั่ง
เทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนาขึ้นใน Pentium 4

1. Intel NetBurst micro – architecture เป็นสถาปัตยกรรมแบบใหม่ล่าสุดที่ช่วยให้สามารถ เร่งความเร็วของสัญญาณนาฬิกาให้ทำงานได้ที่ความถี่สูงๆ และเป็นจุดกำเนิดเทคโนโลยีใหม่ ๆอีก หลายอย่าง ที่ช่วยให้ Pentium 4 มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. Hyper Pipelined Technology เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ Pentium 4 สามารถทำงานตามคำสั่งซอฟต์แวร์ใน Pipeline ได้สูงถึง 20 ขั้นตอน รวมถึงการรองรับความเร็วสัญญาณนาฬิกาที่ความเร็ว 1.5 และ 1.4 GHz
3. Rapid Execution Engine เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ซีพียู Pentium 4 มีความเร็วของบัสระบบ สูงถึง 400 MHz ซึ่งจะช่วยให้ซีพียูสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างซีพียูและอุปกรณ์อื่นๆเร็วขึ้น รวมถึงการรับส่งข้อมูลกับหน่วยความจำ Rambus ก็มีประสิทธิภาพขึ้นด้วย

4. Streaming SIMD Extensions 2 (SSE2) เป็นเทคโนโลยีชุดคำสั่งพิเศษที่พัฒนาต่อจาก SSE ซึ่งได้บรรจุคำสั่งใหม่เพิ่มเข้าไปอีก 144 คำสั่ง จากคำสั่งที่มีอยู่เดิมใน MMX และ SSE ซึ่ง ประกอบด้วยคำสั่งที่จัดการกับข้อมูลแบบจำนวนเต็มและทศนิยม อีกทั้งขยายขนาดของ SIMD Integer จากเดิม 64 บิต ที่ใช้กับเทคโนโลยี MMX มาเป็น 128 บิต ที่ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพ อัตรากรรคำนวณสำหรับ SIMD Integer เป็น 2 เท่า

5. Execution Trace Cache เป็นตัวถอดรหัสเพื่อแปลความหมายของคำสั่งที่ได้รับจากแรม พร้อมกับจัดเก็บคำสั่งที่ผ่านการถอดรหัสเรียบร้อยแล้ว เมื่อใดก็ตามที่ซีพียูมีการเรียกคำสั่งบางคำสั่งที่ อาจซ้ำกับคำสั่งที่มีอยู่ใน Trace Cache ก็จะได้ไม่ต้องเสียเวลามาถอดรหัสซ้ำอีก

6. Advanced Trace Cache เป็นหน่วยความจำแคชระดับ 2 ขนาด 256 KB ที่ติดตั้งอยู่บน Die ของแผ่นซิลิกอน ที่ทำงานด้วยความเร็วเดียวกับซีพียู ซึ่งเทคโนโลยีนี้ใช้มาตั้งแต่ซีพียู Pentium III แล้ว แต่ได้ทากรขยายช่องทางการส่งข้อมูลระหว่างซีพียูกับแคชเพิ่มจากเดิมที่มีขนาด 64 ไบต์ ขณะที่ Pentium 4 มีขนาด 128 ไบต์ ทำให้มีการรับส่งข้อมูลได้สูงกว่ามาก

7. Advanced Dynamic Execution ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ‘Speculative Execution' ซึ่งเป็น กระบวนการทำงานคำสั่งใดๆ เสร็จเพียงครึ่งทางก่อน แล้วรอดูว่ามีคำสั่งไหนที่ต้องการใช้ใน ขั้นต่อไป โดย Pentium 4 สามารถมองเห็นคำสั่งได้ 126 คำสั่ง ในแต่ละเที่ยว และโหลดคำสั่ง ได้ 48 คำสั่ง และเก็บคำสั่งไว้ใน Pipeline ได้ 24 คำสั่ง ช่วยลดจำนวนโครงข่ายที่เป็นสาเหตุให้ เกิดการทำนายผิดพลาดลง 33 %

8. Enhanced Floating Point/ Multimedia ซีพียู Pentium 4 ได้ขยายส่วนของการคำนวณ Floating Point Register ให้กว้างถึง 128 บิต เพื่อให้การคำนวณเลขทศนิยมมีความรวดเร็วขึ้น ซึ่งจะทำให้สามารถทำงานกับโปรแกรมด้านมัลติมีเดียได้ดี

Pentuim 4 90 นาโนเมตร
         
           เป็นโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 90 นาโนเมตรเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในวงอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ที่อินเทลนำมาใช้เป็นพิเศษสำหรับผลิตชิปบน เวเฟอร์ ขนาด 300 มิลลิเมตร เทคโนโลยีการผลิตใหม่นี้ประกอบด้วยทรานซิลเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและกินไปต่ำลง สเตรนซิลิคอน( strained silicon ) อินคอนเน็ค ความเร็วสูงที่ทำจากทองแดง( high – speed copper intercon - nects ) และวัสดุใหม่แบบ ( low – k dielectric ) ยังคงมีเทคโนโลยีไฮเปอร์ เธรดดิ่ง ที่ช่วยการทำงานแบบมัลติทาสก์กิ้งอยู่เช่นเดิม และมี คุณสมบัติใหม่ๆเพิ่มเติม เช่น Enhanced Intel Micro-architecture แคช L2 มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 1 เมกะไบต์ และมีชุดคำสั่งเพิ่มขึ้นอีก 13 ชุด โปรเซสเซอร์ของอินเทลรุ่นต่างๆ ที่มีเทคโนโลยี ไฮเปอร์ เธรดดิ่ง